.

.

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ต้นไผ่กับสายลม






บนภูเขาสูงเทือกหนึ่ง มีต้นไผ่ต้นหนึ่งได้ผลิดอกออกใบบานสะพรั่งเป็นที่ล่ำลือถึงความงดงามกับผู้คนที่ได้พบเห็น

ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ใบไผ่ได้เอ่ยขึ้นว่า "การที่ต้นไผ่มีชื่อเสียงนี้เพราะตนเป็นสำคัญ เป็นเพราะใบที่เขียวสดจึงทำให้ต้นไผ่ดูมีชีวิตชีวา"

ขณะที่ใบไผ่พูดยังไม่จบ ดอกไผ่ ก็เอ่ยขึ้นว่า "เป็นเพราะดอกไผ่ต่างหาก ดอกไผ่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยาก คนที่มาชื่นชม เขามาชื่นชมความมหัศจรรย์ของดอกไผ่ "

"เปล่าเลย ยอดไผ่ต่างหากที่งดงามพวกเจ้าไม่เห็นเวลาสายลมมา แล้วเราลู่ลมเหรอ อ่อนช้อยสวยงามที่สุด ผู้คนชอบตรงนั้นแหละ " แว่วเสียงแทรกมาจากยอดไผ่

ในขณะที่ทุกส่วนของต้นไผ่กำลังถกเถียงกัน ต้นไผ่ซึ่งอยู่กับกอไผ่มานานได้แต่ยืนนิ่ง อย่างอิดหนาระอาใจ แต่ก็อดเปรยๆไม่ได้ว่า "อาจจะเป็นเพราะปุ๋ยไผ่ด้วยกระมัง" พูดพลางชำเรืองมองดูเศษใบไผ่ กิ่งไผ่รุ่นเก่าๆ ที่ล่วงลงไปเป็นปุ๋ยไผ่

พอต้นไผ่พูดจบ ใบไผ่ ดอกไผ่ และยอดไผ่ยู่ในอาการสงบ และนิ่งคิดตาม

แต่ไม่ทันที่จะเข้าใจความหมายที่ต้นไผ่สื่อสาร ทันใดกลับมีลมพายุใหญ่พัดมาครั้งเดียวอย่างหนัก ทำเอาใบไผ่ ดอกไผ่ กิ่งไผ่ ร่วงลงไปกองรวมเป็นปุ๋ยไผ่   คงเหลือแตต้นไผ่ที่ยืนอย่างเดียวดายและเฝ้ารอใบไผ่และดอกไผ่รุ่นต่อๆไป

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 27 ความสุข



การครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีหญิงสาวคนหนึ่งเธอคิดว่า ถ้าเธอได้ทำงานดีๆ ชีวิตของเธอคงจะมีความสุข ดังนั้นเธอจึงพยายามมานะอุตสาหะจนได้ทำงานดีๆที่เธอหวัง แต่กระนั้นเธอก็ยังรู้สึกว่าชีวิตเธอยังขาดอะไรอยู่บางอย่าง
อ๋อ..บ้านและรถยนต์นั่นเอง ดังนั้นเธอจึงตั้งใจประหยัดอดออมเพื่อเก็บเงิน และแล้วในที่สุดเธอก็ได้บ้านและรถยนต์สมปรารถนา แต่ว่า..เธอยังรู้สึกเหงา ถ้ามีใครสักคนที่เข้าใจมาอยู่ข้างๆ ชีวิตเธอต้องมีความสุขแน่

....ดังนั้นเธอจึงตัดสินใจแต่งงาน เธอได้สามีที่ดี แต่เธอก็รู้สึกว่า ถ้าเธอมีลูก ชีวิตของเธอก็จะดีขึ้นและมีความสุขขึ้นเป็นแน่ 

และแล้วเธอก็ได้มีลูกสมปรารถนา แต่ลูกของเธอยังเล็กอยู่ เธอจึงเกิดความรู้สึกว่า เมื่อลูกของเธอโตขึ้น เธอคงจะมีความสุขและสบายขึ้นแน่


....แต่เมื่อลูกของเธอโตขึ้น จนย่างเข้าสู่วัยรุ่น เธอกลับรู้สึกว่าลูกไม่ได้ดั่งใจเธออีก เธอเฝ้าแต่คิดว่าเมื่อลูกๆ ผ่านพ้นช่วงวัยรุ่นไปได้ เธอคงจะมีความสุขมากขึ้น 


ต่อมาเมื่อลูกผ่านพ้นช่วงวัยรุ่นไป เธอกลับรู้สึกว่าเธอกังวลว่าลูกยังดูแลและจัดการตัวเองได้ยังไม่ดีพอ ถ้าลูกๆ จัดการกับตัวของเค้าเองได้ดี และเป็นฝั่งเป็นฝา ชีวิตเธอคงมีความสุขแน่
เวลาได้ผ่านพ้นไปลูกๆของเธอโตเป็นผู้ใหญ่ มีครอบครัวตามที่เธอหวัง แต่ในวันนี้เธอกลับรู้สึกว่าเธอเป็นแค่เพียงคุณยายแก่ๆ คนหนึ่งที่ไม่ค่อยมีคนใส่ใจ 


ในแต่ละวันเธอเฝ้าแต่หวังว่าลูกๆ จะกลับเยี่ยมและเอาใจใส่เธอ มาถึงวันนี้เธอเริ่มรู้สึกแล้วละว่าทำไมตลอดชีวิตของเธอจึงไม่มีความสุข ทั้งที่เธอแสวงหามาชั่วชีวิต


วันหนึ่งเธอจึงตัดสินใจไปที่วัดแห่งหนึ่ง และได้สนทนากับพระเซนรูปหนึ่งในประเด็น ความสุขของชีวิต และเธอก็ได้คำตอบสั้นๆว่า 


แท้จริงแล้ว ความสุขของชีวิตคนเรา อยู่ ณ ช่วงเวลาขณะนี้ ช่วงเวลาปัจจุบันไม่ต้องรอให้ความสุขมาหาเราในอนาคต เราควรมีความสุข และพึงพอใจกับชีวิตปัจจุบันไม่ริ้นรน ไม่แสวงหา
ก่อนตะวันจะลับขอบฟ้า ลมหายใจของหญิงชรากำลังจะสิ้นไป เธอกำลังจะจากโลกนี้ไปพร้อมกับรอยยิ้มแห่งความสงบ

เรื่องที่ 26 กระบอกไม้ไผ่




กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ วัดแห่งหนึ่งมีหลวงตาอยู่รูปหนึ่งและสามเณรอีกห้ารูป วันหนึ่งสามเณรเหล่านั้นได้ทำแจกันตกแตก แต่ไม่มีใครกล้ายอมรับผิด ต่างคนต่างก็กล่าวตู่อีกคนหนึ่งว่าเป็นคนผิด เป็นคนทำแจกันตกแตก

เสียงดังเจี๊ยวจ๊าวไปไกลจนถึงกุฏิหลวงตา หลวงตาจึงเรียกสามเณรทุกรูปเข้าไปพบ
......เมื่อสามเณรมาครบทุกรูปแล้ว หลวงตาจึงก้มลงไปหยิบกระบอกไม้ไผ่มาลำหนึ่ง ความยาวขนาดหนึ่งวา ยื่นให้สามเณรเหล่านั้น พร้อมกับพูดว่า " ให้พวกเจ้ายื่นมือลงไปแตะก้นกระบอกไม้ไผ่ ใครแตะได้หลวงตาจะไม่ทำโทษ "

สามเณรน้อยต่างองค์ต่างพยายามทำมือให้ยาวที่สุด เพื่อที่จะล้วงลงไปให้ถึงก้นกระบอกไม้ไผ่ แต่พยายามอย่างไรก็แตะไม่ถึงก้นกระบอกซักที

จากนั้น หลวงตาจึงถามเณรน้อยว่า " ทำไมจึงแตะก้นกระบอกไม้ไผ่ไม่ถึง"


......เณรน้อยองค์ที่หนึ่งรีบตอบทันทีว่า " กระบอกไม้ไผ่ยาวเกินไปครับ"


......องค์ที่สอง สาม สี่ ห้า ต่างก็ตอบเหมือนเพื่อนว่า " กระบอกไม้ไผ่ยาวเกินไปครับ"


จากนั้นหลวงพ่อจึงพูดขึ้นว่า "ไม่แปลกใจเลยทำไมไม่มีใครรับผิดเรื่องแจกันแตก "
เณรน้อยทุกรูปทำท่างงงวย แตะก้นกระบอกไม้ไผ่ไเกี่ยวอะไรกับแจกันแตก
ต่อมาหลวงพ่อจึงอธิบายว่า จริงๆแล้ว เหตุการณ์แตะก้นกระบอกไม้ไผ่ไม่ถึง มองได้ 2 แบบ คือ แบบที่ 1กระบอกไม้ไผ่ยาวเกินไป แบบที่ 2 แขนของเราสั้นเกินไป


........ แต่ไม่มีใครตอบแบบที่ 2 เลย 


เป็นอย่างนี้แหละคนเรา เวลาเกิดเหตุการณ์ขัดแย้ง หรือมีความเห็นไม่ลงรอยกัน คนเรามักจะโทษคนอื่นหรือ สิ่งอื่นก่อนเสมอ ว่าคนอื่น สิ่งอื่นผิด ตนถูก หายากมากคนที่จะมองตนเองก่อนที่จะมองผู้อื่น ยิ่งกล้ารับผิดแล้วยิ่งยากมาก พูดเพียงเท่านี้หลวงตาก็เดินจากไป

เรื่องที่ 25 ปราสาทหลังสุดท้าย



กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีมหาอำมาตย์ผู้หนึ่งท่านได้เป็นสถาปนิกคู่ใจของพระราชามาช้านาน จนกระทั้งบัดนี้อายุของท่านได้มากขึ้น ท่านจึงได้คิดหวลถึงตนเองว่าควรที่จะหยุดงานและไปพักผ่อนให้มีความสุขใน ชีวิตเสียที ดังนั้น ท่านจึงได้ไปกราบทูลลาพระราชา แต่ผลปรากฎว่าพระราชายังไม่ยอม พระราชาประสงค์จะให้มหาอำมาตย์ได้สร้างปราสาทที่สวยที่สุดให้พระราชาอีก หนึ่งหลังเสียก่อน มหาอำมาตย์ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงจำใจรับคำพระราชา

ดังนั้นในการก่อสร้างปราสาทหลังนี้เขาได้ทำอย่างรีบเร่ง ไม่ปราณีต และไม่เก็บรายละเอียดให้ดี ตรงที่ไม่ดีเขาก็หาวิธีฉาบปิดกำบัง แต่ถึงอย่างไรเมื่อสร้างเสร็จทุกคนกก็ยังชื่นชมในฝีมือของเขาอยู่ดี

เมื่อสร้างปราสาทเสร็จ เขาดีใจมากเพราะบัดนี้ภาระที่หนักอึ้งได้จบลงแล้ว แต่หวังว่าพระราชาจะรักษาคำพูดที่ให้ไว้กับเรานะ คิดในใจพลางมหาอำมาตย์ก็รีบไปหาพระราชาพลาง


มหาอำมาตย์ : บัดนี้ เกล้าฯ ได้สร้างปราสาทเสร็จแล้ว ดังนั้นจึงขอทูลลาไปพักในวัยชรานะพะยะค่ะ (พูดพลางจะลุกไปพลาง)


พระราชา : ช้าก่อนมหาอำมาตย์ อย่าเพิ่งไป ( มหาอำมาตย์เริ่มมีอาการฉุนเฉียวพลางคิดว่าพระราชาจะเล่นลิ้นอะไรอีกละนี่)


พระราชานิ่งเงียบสักครู่ก่อนจะพูดขึ้นว่า " ปราสาทที่สวยที่สุดหลังนั้น เราได้ตั้งใจสร้างเพื่อเป็นสิ่งตอบแทนท่าน ที่ได้เสียสละตนเองทำงานเพื่อแผ่นดินมาโดยตลอด ขอให้ท่านจงอยู่ในปราสาทแสนสวยหลังนั้นอย่างมีความสุข ในบั้นปลายชีวิตนะ"


มหาอำมาตย์ตกตะลึงในสิ่งที่ได้ฟัง ปลื้มปิติ รู้สึกทราบซึ้งใจจนน้ำตาไหล แต่ท่านก็อดคิดในใจไม่ได้ว่า " เราจะอยู่อย่างมีความสุขได้อย่างไรเหนอ ในเมื่อปราสาทหลังนั้นเราไม่ได้ตั้งใจสร้างเลย และที่สำคัญทุกรอยตำหนิ ทุกที่ปิดบัง เราเห็นมันทุกที่”

เรื่องที่ 24 เหรียญสองด้าน






เสียงเอะอะโวยวายแว่วดังมาจากหน้าบริษัทงานแห่งหนึ่ง “ งานนั้นเหรอ โอ้ยากเกินไป ผมทำไม่ได้หรอก ความสามารถไม่ถึง ” ในขณะที่ผู้จัดการกำลังเจรจามอบหมายงานให้พนักงานใหม่เป็นครั้งที่สาม
ในช่วงเวลานั้นเอง เป็นช่วงเวลาที่หลวงพ่อวัดเซนเดินผ่านมาพอดี

หลวงพ่อ : มีอะไรกันเหรอ
ผู้จัดการ : พวกเรากำลังมอบหมายงานกันครับ แต่ไม่ว่าจะให้งานอะไร พนักงานใหม่ก็ไม่รับ บอกแต่ว่า ยาก ยากมาก ทำไม่ได้ ความสามารถไม่ถึง โยมละกลุ้มใจจริงๆ ขอรับ (พูดพลางทำหน้าเอื่อมละราพลาง)

หลวงพ่อหันหน้าไปหาพนักงานใหม่ (ซึ่งเขาไม่อยากจะสบตาหลวงพ่อเท่าไรนัก) จากนั้นหลวงพ่อจึงเอ่ยขึ้นว่า
หลวงพ่อ : โยม.... เงินเหรียญ ที่เราใช้กันอยู่มีกี่ด้าน
พนักงานใหม่ : สองด้านขอรับ …. ด้านหัว กับ ก้อย ขอครับ
หลวงพ่อ : ถ้าเราโยนขึ้น ตกลงมา โอกาสจะขึ้นหัวหรือก้อย มีเท่ากันไหม
พนักงานใหม่ : เท่ากันขอรับ

หลวงนิ่งสักครู่ก่อนที่จะอธิบายว่า

“ ในการทำงานก็เหมือนกัน เมื่อไรก็ตามที่เรากล้าที่จะทำงาน ก็เหมือนเรากล้าที่จะโยนเหรียญ ซึ่งไม่ออกหัวก็ก้อยโอกาสสำเร็จมีถึงห้าสิบเปอร์เซ็นต์ แต่หากเราไม่กล้าที่จะทำงาน ก็เปรียบเสมือนเราไม่กล้าที่จะโยนเหรียญโอกาสสำเร็จไม่มีเลย ฉะนั้นแล้วผู้ที่แสวงหาความสำเร็จควรกล้าที่จะทำ เพราะอย่างน้อยโอกาสสำเร็จก็มีถึงห้าสิบเปอร์เซ็นต์ ” ว่าเพียงเท่านี้หลวงพ่อก็เดินจากไป

เรื่องที่ 23 กระจก



กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งได้ถูกส่งให้มาปฎิบัติธรรมที่วัดเซน สาเหตุที่ถูกส่งมาเพราะพนักงานเหล่านี้เต็มไปด้วยทิฐิมานะ และความอหังกา ไม่เชื่อฟังใคร ใครจะบอกให้เปลี่ยนแปลงพัฒนาตัวเองไปในทางที่ดีอย่างไรก็ไม่ใส่ใจ

หลังจากปฏิบัติธรรมไปแล้วสามวัน พอเช้าวันที่สี่หลวงพ่อก็เรียกให้ทุกคนเข้าไปพบ
หลวงพ่อ : เออ พวกเจ้าบนศาลามีกระจกใหญ่อยู่บานหนึ่ง ให้พวกเจ้าเวียนกันขึ้นไปส่องทีละคน เสร็จแล้วเดี๋ยวตอนเย็นหลวงพ่อจะคุยด้วย

พอถึงตอนเย็นหลวงพ่อก็เรียกทุกคนมาพบ จากนั้นหลวงพ่อจึงเอ่ยขึ้นว่า

หลวงพ่อ : เอ้า แต่ละคนเล่าให้หลวงพ่อฟังซิ หลังจากไปส่องกระจกบานใหญ่แล้วทุกคนเห็นอะไร
พนักงานคนที่ 1 : ผมเห็นหน้าตาตัวเองครับ หลังจากที่ไม่เห็นมาหลายวัน
พนักงานคนที่ 2 : หนูส่องแล้วเห็นผมเผ้ากระเซอะกระเซิง เลยใช้กระจกหลวงพ่อส่องแล้วหวีให้เรียบร้อยค่ะ

พนักงานคนที่ 3 : หนูส่องแล้วเห็นสิวเม็ดหนึ่ง จากนั้นจึ่งรักษาทายาให้สิวหาย ตอนนี้หายแล้วค่ะ
หลวงพ่อ : เออ กระจกมันมีประโยชน์นะ ทำให้เราได้เห็นตัวเอง รู้ว่าตัวเองเป็นอย่างไร รู้ว่าผมยุ่งเราก็หวีผม รู้ว่าเป็นสิว เราก็รักษา พัฒนาบุคลิกภาพเราให้ดูดี กระจกนี่ดีจริงๆ
ขณะนั้นทุกคนนิ่งคิด ตั้งใจฟังหลวงพ่อด้วยใจจดจ่อ จากนั้นหลวงพ่อก็พูดอีกว่า

" ในการดำเนินชีวิตเราก็มีกระจกบานใหญ่ในสังคม ผู้คนเหล่านั้นล้วนเป็นกระจกส่องเรา หากเรามองดีดีเราจะเห็นตัวเอง เมื่อเห็นตัวเองแล้วเราก็จะได้พัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ฉนั้นอย่าลืมส่องละกระจกในสังคม " ว่าเพียงเท่านี้หลวงพ่อก็เดินจากไป

เรื่องที่ 22 กะลาสี



กาลครังหนึ่งนานมาแล้ว มีเรือลำใหญ่ลำหนึ่ง เที่ยวท่องไปในมหาสมุทรเพื่อไปให้ถึงดินแดนอัน อุดมแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่บนฝั่งมหาสมุทรอันไกลโพ้น

เรือลำนั้นได้บรรทุกกับตันเรือ ลูกเรือ และผู้โดยสารอีกหลายคน ทุกคนเฉลิมฉลองกันอย่างมีความสุข บ้างก็ร้องเพลง บ้างก็เต้นรำ

ในขณะที่ทุกคนกำลังสนุกครื้นเครงอยู่บนเรือนั้นเอง ก็มีเหตุการณ์อันน่าสพรึงกลัวเกิดขึ้น
พายุ ใหญ่ได้พัดโหมกระหนำ่เข้าสู่เรืออย่างหนัก เสียงแห่งความสุขได้หลุดลอยหายไป เปลี่ยนเป็นเสียงแห่งความทุกข์ขึ้นแทน เสียงแผดร้อง โหนหวนดังอึงคนึงจ้าระหวั่นไปทั่ว ทุกคนต่างวิ่งหนีภัย หลีกหนีความตาย

พายุใหญ่ตีเรือแตกเป็นเสี่ยงๆ กำตันเรือ ลูกเรือ และผู้โดยสารทุกคนต้องจมหายไปในทะเล เหลือเพียงกลาสีหนุ่มคนหนึ่งเท่านั้นที่ไหวตัวทัน เขาได้นำเรือลำเล็กออกจากเรือลำใหญ่ก่อนหน้าที่เรือจะแตก ด้วยความรอบคอบเขาได้นำน้ำและเสบียงอาหารติดตัวไปด้วย

กะลาสีหนุ่มพายเรือมุ่งหน้าไปเรือยๆ แต่อย่างไรเสียก็ยังมองไม่เห็นฝั่ง เขาพายเรืออยู่อย่างนั้นได้หลายสิบวัน เป็นระยะทางแสนไกล ในที่่สุดเสบียงอาหารก็หมดลง

แต่...กะลาสีหนุ่มก็ยังคงพายเรือต่อไปในทิศทางเดิม ในที่สุดน้ำดื่มก็ร่อยหรอลง แต่กะลาสีหนุ่มก็พายเรือต่อไปในทิศทางเดิมอย่างมันคง

พายมาไกลแสนไกลก็ยังไม่เห็นทีท่าว่าจะถึงฝั่ง กะลาสีหนุ่มเริ่มไม่มั่นใจในทิศทางที่ไป เขาเริ่มเคลือบแคลง " เอ๊ะหรือเราพายมาผิดทาง จึงไม่ถึงฝั่งสักที ชลอยเราจะมาผิดทางแล้ว" ว่าแล้วกะลาสีหนุ่มก็ปรับหัวเรือใหม่หมุนไปอีกทางหนึ่ง และพายเรือต่อไป

.....อนิจจา กะลาสีหน่มหารู้ไหมว่าการที่เขาเคลือบแคลงในเส้นทางที่เดิน แล้วเปลี่ยนเส้นทางเดินใหม่นั้น มันทำให้ระยะทางกว่าจะถึงฝังไกลแสนไกลกว่าเดิม ทั้งๆที่จริงๆแล้วอีกไม่นานในเส้นทางนี้เขาก็จะถึงฝั่งอยู่แล้วเชียว.